วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

มงคลสูตรคำฉันท์ ภาระงานที่ 1


ภาระงานที่ 1

ผู้เรียนวิเคราะห์เนื้อหาในด้านต่าง ๆ ของเรื่องมงคล38 ประการ

 
1. นอบน้อมถ่อมตน
    นอบน้อมถ่อมตน หมายถึง การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร  แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม
    การที่ทุกคนนอบน้อมถ่อมตนต่อกัน จะทำให้สังคมไม่เกิดปัญหา หรือ ทะเลาะกัน เนื่องจากการที่โอ้อวด ก้าวร้าว ข่มแหงผู้อื่น การนอบน้อมถ่อมตน จะทำให้เราอยู่เป็นสุข ไม่มีศัตรู ผู้อื่นจะนับถือ น่าเคารพ ทำให้ไม่ประมาท ตั้งอยู่ในธรรม

2.มีความกตัญญู
   ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึง ความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการะคุณผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน เช่น เลี้ยงดูสั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการะคุณนั้นเลย
    อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึง ความรู้บุญ หรือรู้อุปการะของบุญที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลายได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบันก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆขึ้นไป
    เราทุกคนเกิดมาก็จะมีคนที่มีพระคุณมากที่สุด คือ พ่อ แม่ บางคนอาจมีผู้อื่นที่ช่วยหรือดูแลเรา เพิ่มมาล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีพระคุณ เพราะฉนั้นเราจึงควรตอบแทนพวกท่าน เรียกพฤติกรรมนี้ว่าความกตัญญู นอกจากแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณแล้ว เราต้องกตัญญูต่อตนเองด้วย คือ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ทำลายร่างกายด้วยการเสพของเสพติดหรือของมึนเมา และไม่นำร่างกายนี้ไปประพฤติชั่ว

3.มีความอดทน
   ความอดทน มาจากคำว่า ขันติน หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึ่งปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม ความสำเร็จของงานทุกชิ้นทั้งทางโลกและทางธรรม คืออนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น
   หากทุกคนมีความอดทน อดกลั้นอารมณ์เมื่อถูกผู้อื่นกล่าวร้ายเกี่ยวกับตัวเรา ก็ทำเหมือนไม่ได้ยิน ข่มความโกรธไว้ ไม่ทำร้ายผู้อื่น ก็จะทำให้ไม่เกิดการทะเลาะกัน อยู่อย่างเป็นสุข เนื่องจากที่เรามีความอดทนจะทำให้ตัวเรานั้นมีสมาธิตั้งมั่น เป็นที่รักของทุกคน


 
 

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง


เสียงส่วนใหญ่ คือ ความถูกต้อง 

       มนุษย์เรา มักจะประสบกับปัญหาการเลือกตัดสินใจ ว่าจะยืดหลักอะไรดีที่ควรจะเลือกเมื่อต้องมีการตัดสินใน  ซึ่งจะเป็นทางสองแพร่งอยู่เสมอ คือ ชอบ หรือ ไม่ชอบ โดยอาศัยความรู้สึกของตัวเองเป็นหลัก   แต่เมื่อต้องมีการตัดสินใจใด ๆ ที่เป็นเรื่องใหญ่เราจะเปลี่ยนความคิดใหม่ เป็นสองทางเลือก  โดยใช้เกณฑ์ของ “ตัวเอง” ที่กำหนดขึ้นไม่ต้องหาข้อมูลใด ๆ มาสนับสนุน  และใช้เกณฑ์เสียงของสังคมมาเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์ใดขอให้อยู่บนความถูกต้องก็แล้วกัน  ซึ่งคนส่วนมากมักใช้เสียงส่วนใหญ๋ เป็นเกณฑ์  เพราะนั้น หมายถึง ความถูกต้อง
        
         หลายคน คงมองว่า เสียงส่วนใหญ่ คือความถูกต้อง  นั่นคือ ระบบประชาธิปไตย ที่ส่วนใหญ๋  เรามักใช้กันมาตลอด ใช้มาตั้งแต่เราเรียน เมื่อมีการเลือกหัวหน้าชั้น  คุณครูจะให้พวกเราเสนอชื่อเพื่อนที่เหมาะสม  และให้ทุกคนยกมือเลือกคนที่ตัวเองชอบ  หากรายชื่อใดได้รับคะแนนการยกมือมากที่สุด  ผู้นั้นจะได้รับการเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าชั้น   แต่เมื่อได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าชั้นแล้ว ก็จะมีหน้าที่ตามมา โดยคุณครูจะมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ดูแลความเรียบร้อยของเพื่อน ๆ ร่วมชั้น  แต่ถ้าหัวหน้าชั้น  ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ไม่ถูกต้อง อันนี้ก็ไม่สมควรอย่างยิ่ง  
          ในประเทศไทยเรา  ใช้ระบบประชาธิปไตยมานานแสนนาน  และตามที่ได้เล่าเรียนมา ประชาธิปไตย คือเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับกันว่า  เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับเสียงส่วนใหญ่ฝ่ายนั้นจะถูกเรียกว่า  ฝ่ายชนะ   ก็เหมือนกับการเลือกตั้ง ที่อีกไม่กี่วัน กรุงเทพมหานคร ก็จะมีการเลือกตั้ง    ผู้ว่าราชการจังหวัด  ซึ่งมีคุณลุง คุณป้า ที่มีความรู้ ความสามารถ อาสาสมัครเข้ารับเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร   ต่างฝ่ายต่างหาเสียง และนำนโยบายของแต่ละคนออกมาพูด เพื่อให้คนกรุงเทพฯ ได้รับรู้ว่า หากเลือกแล้ว จะได้อะไรเป็นการตอบแทน และเป็นการพิสูจน์ว่า  ผู้ที่ได้รับเลือกแล้ว จะสามารถดำเนินการได้ตามอย่างที่พูด ที่โฆษณาไว้หรือเปล่า  อันนี้ต้องรอเวลาในการพิสูจน์คน เหมือนคำโบราณว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน”   ถึงแม้ว่า ปัจจุบัน ข้าพเจ้าอายุยังไม่เข้าเกณฑ์ ที่จะเลือกตั้งได้ แต่ก็ลุ้นตัวโกร่งเหมือนกัน  เห็นนโยบายของผู้สมัครหลาย ๆ ท่าน ล้วนแล้วแต่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อคนในกรุงเทพฯ ทั้งนั้น   ไม่ว่าผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหนคร จะเป็นผู้สมัครท่านใดก็ตาม  แต่ขอให้ได้มาด้วยความสุจริต ความบริสุทธิ์ ความจริงใจ  ความถูกต้องเพราะนั่นคือ เสียงส่วนใหญ่ที่ให้ความไว้วางใจของคนทั้งจังหวัดกรุงเทพมหานคร
            สรุปเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเสียงที่มากที่สุด และเป็นที่ยอมรับในระบบประชาธิปไตย จะเป็นผู้ตัดสินใจ หรือ มีสิทธิ์สมบูรณ์  และต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง  จึงจะถือว่า สมบูรณ์แบบ เพราะเสียงส่วนใหญ่ ก็มิได้หมายความ จะคิดหรือทำอะไรแล้วจะถูกต้องเสมอ   เพราะเสียงข้างมาก ไม่ได้แปลว่าเท่าเทียม ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่มาจากเสียงส่วนใหญ่จะถูกต้องเสมอไป  แต่ผู้ที่อยู่ฝ่ายเสียงส่วนใหญ่ จะต้องอยู่ยึดหลักศีลธรรมที่ถุกต้องด้วย