วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จดหมายสมัครงาน


เรื่อง ขอสมัครงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่โปรแกรมเมอร์
เรียน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประวัติย่อ
                        2. ใบรับรองการศึกษา
                        3. รูปถ่าย
          ดิฉันทราบจากสื่อในอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ของบริษัทฯ ว่าทางบริษัทฯของท่านต้องการรับสมัครพนักงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่โปรแกรมเมอร์ ดิฉันมีความสนใจมาก จึงขอสมัครงานในตำแหน่งดังกล่าว โดยมีเหตุผลดังนี้
          ประการแรก บริษัทฯ เป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือ เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปทั้งในประเทศ ด้านผู้ให้บริการสารสนเทศทางด้านคอมพิวเตอร์
          ประการที่สอง ดิฉันมีความสนใจงานด้านคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นงานที่ดิฉันได้มีโอกาสใช้ความรู้และความสามารถที่เรียนมาอีกด้วย นอกจากนี้ในระหว่างการศึกษาอยู่ ดิฉันได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตรหลาย ๆ อย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานด้านคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
          1. ภาษา C++
          2. JAVA
          3. Data Base (my sql , ms access )
          4. MS office
        โดยเหตุนี้ ดิฉันจึงมีความมั่นใจเป็นอย่างมากว่า ดิฉันสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่โปรแกรมเมอร์ได้ดี และหากท่านต้องการตรวจสอบความประพฤติหรือกิจกรรมของดิฉันที่กล่าวมาข้างต้น โปรดติดต่อได้โดยตรง ยังผู้ที่มีรายชื่อในประวัติย่อของดิฉันได้ พร้อมกันนี้ ดิฉันได้จัดส่งเอกสารต่างๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาของท่านแล้ว
          ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความกรุณาจากท่าน ให้เข้าพบเพื่ออธิบายให้รายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งต่อความกรุณาของท่านมา ณ ที่นี้

 ขอแสดงความนับถืออย่างสูง



( นางสาวจิดาภา สิกพันธ์ )

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เหตุผลที่ชอบบทความของกลุ่ม (กลุ่ม 5)

เหตุผลที่ชอบบทความ " ถนอมดวงตาด้วยวิธีง่าย ๆ "



         ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการมองเห็น และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ บนโลก ดวงตานั้นมีความอ่อนโยน และบอบบาง จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการดูแลรักษาเป็นพิเศษ บทความนี้ทำให้รู้ถึงวิธีการถนอมสายตาด้วยวิธีที่ง่ายและให้เวลาไม่มาก อย่างเช่น หลีกเลียงการเพ่งมองเป็นเวลานาน ๆ  , ทอดสายตาออกไปไกล ๆ หรือมองต้นไม้สีเขียว หรือจะเป็น  บริหารดวงตา โดยการกรอกลูกตาไปมาเป็นวงกลม ล้วนก็เป็นวิธีถนอมสายตาได้เหมือนกัน 

ความเป็นมาของผีดูดเลือด

ผีดูดเลือด 



สโตรกเกอร์คือผู้เขียนนวนิยายสยองขวัญเกี่ยวกับผีดูดเลือดมันเป็นเรื่องประหลาดที่เขาเขียนเรื่องนี้ขึ้นโดยมิได้เคยเดินทางไปยังเทือกเขาคาร์เพเทียนในรูมาเนียอันเป็นถิ่นกำเนิดของตำนานผีดูดเลือดอันน่าสะพรึงกลัว ท่านเคานต์ แดร็คคิวลา จอมผีดิบผู้มีปราสาทพำนักอยู่บนเทือกเขาคาร์เพเทียนและแบล็ค ฟอเรสท์ (ป่าดำ) ที่แม้ปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามและไม่พึงจะไม่เข้าไปวอแวของชาวรูมาเนีย แต่กลับ มีนักท่องเที่ยวหลั่งใหลมาเที่ยวชมตำนานผีดูดเลือดกับปีละมากๆ ทำให้สินค้าพื้นเมืองขายดิบขายดีกันตลอดปีตามไปด้วยบราห์มวาดภาพท่านเคานต์ไว้ว่าเป็นชายแก่ที่มีดวงตาแข็งกร้าว ปากมีสีแดงสด มีเขี้ยวคม ขาววับงอกโผล่พ้นริมฝีปากออกมาสวมชุดสีดำสวมเสื้อคลุมดำมีชีวิตอยู่ด้วยการดูดเลือดสดๆ จากคอของเหยื่อ มีอายุยืนยาวมากว่า 400 ปีเลยทีเดียวภาพของท่านเคานต์แตกตางไปจากตำนานดั้งเดิมของชาวรูมาเนีย เพราะชาวรุมาเนียนั้นเชื่อว่าผีดิบดูดเลือดจะสวมชุดที่เขาใส่ก่อนจะถูกบรรจุใส่โลงลงฝังในดินและฟื้นคืนชีพมาอาละวาดในชุดนั้นเอง
     
        ตำนานของชาวคาร์เพเทียนมิได้บอกว่าผีดิบขึ้นมาจากโลงที่ถูกฝังลึกลงไปได้อย่างไรเพราะผีดิบไม่ใช่วิญญาณแต่เป็นศพที่ไร้ลมหายใจจะแทรกโลงแทรกพื้นดินขึ้นมาไม่ได้ แต่ตำนานกลับซ่อนปมเด่นของท่านเคานต์ไว้ว่า "สามารถแปลงร่างเป็นค้างคาว เป็นหมาป่า เป็นกลุ่มควันและมีอำนาจสะกดจิตในดวงตากล้าแข็งมากจนเมื่อได้สบตาเหยื่อแล้วเหยื่อจะไม่อาจขัดขืนให้ท่านเคานต์ดูดเลือดจากคอได้เลย"ผีดูดเลือดมาจากไหนนี่เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบมาก่อนจนถึงศตวรรษที่19 ได้มีการค้นพบค้างคาวชนิดหนึ่งในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา เจ้าค้างคาวประเภทนี้มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้เขี้ยวเจาะเส้นเลือดของสัตว์ต่างๆแล้วดูดเลือดกินมันจะเข้าจู่โจมสัตว์เลี้ยงเช่นแกะ วัว หรือแม้แต่สุนัขแล้วดูดเดือดออกไปจนแห้งและตายด้วยเลือดหมดตัวหรือโลหิตจาง ผุ้ค้นพบขนานนามมันว่า "แวมไพร" และหน้าตาของเจ้าแวมไพร์ก็แสนจะน่าเกลียดและน่ากลัว เจ้าค้างคาวแวมไพร์นี่และที่กลายมาเป็นเคานต์แดร็คคิวลาในที่สุด

       ** ผีดูดเลือดผิดกับมนุษย์หมาป่าก็ตรงที่พฤติกรรมมนุษย์หมาป่าจะฟัดกัดเหยื่อเพื่อระบายความโกรธแค้นและไม่กินเลือดหรือเนื้อของเหยื่อแต่ผีดูดเลือดจเไม่ตบกัดฟัดเหวี่ยงเหยื่อแต่จะสะกดจิตเหยื่อให้ตกอยู่ใต้ อำนาจแล้วจึงใช้เขี้ยวกัดลงไปที่เส้นเลือดใหญ่ที่ลำคอเหนื่อยให้เลือดทะลักออกมาแล้วดื่มเลือดนั้นเข้าไป จนเต็มอิ่มเหยื่อจะไม่ถึงแก่ความตายในการดูดเลือดครั้งเดียวแต่จะถึงแก่ความตายหลังจากถูกดูดเลือด หลายครั้งจนเลือดหมดตัว


วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

9 วิธีทำงานกับ "คนที่ไม่ชอบหน้า" (บทความที่ชอบ)

 9 วิธีทำงานกับ "คนที่ไม่ชอบหน้า"   
                                                                                                                                
         ก็เข้าใจว่าไม่มีใครเพอร์เฟ็คท์ได้เต็มร้อย แต่ก็มีไม่น้อยที่ต้องฝืนใจทนทำงานกับคนที่เราแสนจะ..เหม็นขี้หน้า แต่ถ้าจะปล่อยให้แต่ละวันเป็นวันแห่งความทรมานใจ ก็เป็นการบั่นทอนกำลังใจเกินไป ลองคิดใหม่ ทำใหม่ ให้ทำงานกันได้ราบรื่นดีกว่าไหม
1. เปิดใจให้กว้าง ลดความรู้สึกไม่ชอบในใจลงไปสักนิด..แค่นิดเดียวก็จะทำให้คุณฟังเขาพูดได้รื่นหูมากขึ้น
2. เน้นที่ตัวงานมากกว่าตัวคน เวลาสั่งงานให้เน้นที่งานมากกว่าระบุตัวคุณ เช่นแทนที่เขาจะบอกว่า "คุณต้องส่งงานนี้ที่ฉัน ภายในวันศุกร์" ก็เปลี่ยนเป็น "รายงานชิ้นนี้ต้องส่งนายวันศุกร์นี้ค่ะ"
3. คุยกันแบบตัวต่อตัวหรือทางโทรศัพท์ สำหรับเรื่องสำคัญ หรือเรื่องที่คิดว่าจะมีปัญหาผิดใจกันได้ง่ายๆ
4. พูดกันให้สั้น กระชับ ตรงประเด็น ไม่อยากเถียงกันมากขึ้นอธิบายทุกอย่างให้ชัดเจน
5. ให้เขารู้ผลเสียที่จะตามมา ถ้าเขาทำไม่ดี เช่น บอกว่าถ้าเขาส่งงานไม่ทันเดทไลน์จะเป็นอย่างไร "ถ้าคุณปิดต้นฉบับไม่ทันศุกร์นี้ หนังสือก็จะออกช้านะ"
6. ถ้ามีประชุม เตรียมพร้อมทุกอย่างในส่วนของตัวเองอย่างดีที่สุด และก็ไม่ต้องตำหนิใครถ้าคนอื่นไม่พร้อม   
7. ถ้ามีเรื่องต้องโต้แย้ง (มั่นใจว่า..มีเถียงแน่ๆ) ให้จดประเด็นที่ต้องพูดเป็นข้อๆ แล้วคุยให้อยู่ในประเด็นนั้นให้ได้  
8. ไม่นินทาฝ่ายตรงข้ามลับหลัง ประเภทว่าปิดกันให้แซด! น่ะ...ถึงเจ้าตัวชัวร์
9. ใจเย็นๆ ถ้าทำงานกับคนที่ไม่ชอบ..นี่คือคาถาที่สำคัญที่สุด  



เหตุผลที่ชอบ : คนเราทุกคนก็ต้องมีคนที่ไม่ชอบหน้า บทความนี้ทำให้รู้วิธีการคิดกับคนๆนั้น คนที่เราไม่ชอบโดยที่ไม่ต้องทะเลาะกันได้ และจะได้ไม่มีเรื่องกัน จะำไม่เกิดปัญหาขึ้นตามหลัง   
ที่มา : http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=447444&Ntype=128

วิเคราะห์ ประเมินค่าคำประพันธ์“ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


      เรื่อง "ทุกข์ของชาวนาในบทกวี" พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมอยู่ในหมวด "ชวนคิดพิจิตรภาษา" ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง ซึ่งพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน พระราชานุญาตให้นิสิตอักษรศาสตร์รุ่นที่ 41 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระมายุครบ 3 รอบ
      พระราชนิพนธ์เรื่องนี้แดงแนวพระราชดาริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา เนื้อความในพระราชนิพนธ์ตอนแรกแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนาและยังสะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ ที่มีต่อชาวนาอีกด้วย
      ส่วนตอนต่อมา ทรงแปลบทกวีจีนกับชาวนาไทยว่า มิได้แตกต่างกันเท่าใดนัก ส่วนที่สาคัญที่สุดคือ ทรงชี้ให้เห็นกลวิธีนาเสนอของกวีทั้งสองที่แตกต่างกันซึ่งนักเรียนควรศึกษาอย่างพินิจพิจารณา
     กล่าวได้ว่า พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างเรียงความที่ดีเรื่องหนึ่ง เพราะปรากฏแนวความคิดที่แจ่มแจ้งชัดเจน ลาดับความให้ผู้อ่านเข้าใจได้สะดวก ใช้ถ้อยคากะทัดรัด สละสลวย และมีข้อคิดที่ชวนให้ผู้อ่านนาไปตรึกตรองต่อไป นักเรียนจึงควรศึกษาแนวความคิดสังเกตการใช้ถ้อยคาและการผูกประโยค การปฏิบัติเช่นนี้อย่างสมาเสมอ จะช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียนได้อย่างดียิ่ง

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น

ลักษณะคำประพันธ์ : ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ

จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา

ความเป็นมา :  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41 พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก
เนื้อเรื่อง
     เมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทาให้ชาวนาละทิ้งอาชีพเกษตรกรไปทางานทางด้านอุตสาหกรรมเพราะรายได้สูงกว่า เร็วกว่า และแน่นอนกว่า ทั้งมีสวัดิการสูงกว่า ชาวนาบางคนที่ยังทาการเกษตรกรอยู่ก็เปลี่ยนจากการปลูกธัญพืชมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาสูงกว่า แต่ยังมีชาวนาอีกเป็นจานวนมากที่ไม่สามารถขยับขยายไปทางอื่นที่ดีกว่าได้ ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้ใช้จินตนาการสะท้อนปัญหาเหล่านี้ออกมาให้รู้แต่ปัญหานี้ก็ยังมีอยู่
     เนื้อหาตอนต่อมากล่าวถึง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแปลบทกวีจีน "ประเพณีดั้งเดิม" บทกวีของหลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราชวงศ์ถัง บรรยายความในใจเกี่ยวกับชาวนาที่มีชีวิตความเป็นอยู่ลาบาก
     จากบทกวีทั้งของไทยและจีนนี้ทาให้เห็นว่าชีวิตของชาวนาไทย และชีวิตของชาวนาจีนต่างมีความทุกข์ยากเหมือนกัน ต่างกันตรงเทคนิคในการเขียนบทกวี หลี่เชินใช้วิธีบรรยายภาพที่เห็นให้ฟัง แต่จิตร ภูมิศักดิ์ ใช้วิธีเสมือนชาวนามาบรรยายเรื่องของตนเองด้วยตนเอง
     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงความคิดเห็นว่า แม้ว่าสภาพบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไป และเป็นเวลามานานแล้ว แต่ปัญหาความทุกข์ยากของชาวนาก็คงยังสร้างความสะเทือนใจแก้กวียุคคอมพิวเตอร์ต่อไป

คุณค่าของเรื่อง
          พระราชนิพนธ์  เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา  อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ  ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูก "ข้าว" อันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของ
คนไทย

ความรู้เพิ่มเติม
       บทความ หมายถึง รูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร ข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน โดยเนื้อหานำเสนอจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นเองจากจินตนาการ  บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป จะมีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหาเหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านหรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น

วิเคราะห์วิจารณ์
       การแต่งทุกข์ของชาวนาในบทกวีนับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน เนื้อเรื่องวิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดย ทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิง วรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีนว่า เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือหลี่เชินบรรยายภาพที่เห็น เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

สรุป
       พระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้น-ของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูกข้าวอันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย