วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ ประเมินค่าคำประพันธ์“ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”


ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


      เรื่อง "ทุกข์ของชาวนาในบทกวี" พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมอยู่ในหมวด "ชวนคิดพิจิตรภาษา" ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง ซึ่งพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน พระราชานุญาตให้นิสิตอักษรศาสตร์รุ่นที่ 41 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระมายุครบ 3 รอบ
      พระราชนิพนธ์เรื่องนี้แดงแนวพระราชดาริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา เนื้อความในพระราชนิพนธ์ตอนแรกแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนาและยังสะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ ที่มีต่อชาวนาอีกด้วย
      ส่วนตอนต่อมา ทรงแปลบทกวีจีนกับชาวนาไทยว่า มิได้แตกต่างกันเท่าใดนัก ส่วนที่สาคัญที่สุดคือ ทรงชี้ให้เห็นกลวิธีนาเสนอของกวีทั้งสองที่แตกต่างกันซึ่งนักเรียนควรศึกษาอย่างพินิจพิจารณา
     กล่าวได้ว่า พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ถือเป็นตัวอย่างเรียงความที่ดีเรื่องหนึ่ง เพราะปรากฏแนวความคิดที่แจ่มแจ้งชัดเจน ลาดับความให้ผู้อ่านเข้าใจได้สะดวก ใช้ถ้อยคากะทัดรัด สละสลวย และมีข้อคิดที่ชวนให้ผู้อ่านนาไปตรึกตรองต่อไป นักเรียนจึงควรศึกษาแนวความคิดสังเกตการใช้ถ้อยคาและการผูกประโยค การปฏิบัติเช่นนี้อย่างสมาเสมอ จะช่วยพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียนได้อย่างดียิ่ง

ผู้แต่ง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น

ลักษณะคำประพันธ์ : ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ

จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา

ความเป็นมา :  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41 พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก
เนื้อเรื่อง
     เมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทาให้ชาวนาละทิ้งอาชีพเกษตรกรไปทางานทางด้านอุตสาหกรรมเพราะรายได้สูงกว่า เร็วกว่า และแน่นอนกว่า ทั้งมีสวัดิการสูงกว่า ชาวนาบางคนที่ยังทาการเกษตรกรอยู่ก็เปลี่ยนจากการปลูกธัญพืชมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาสูงกว่า แต่ยังมีชาวนาอีกเป็นจานวนมากที่ไม่สามารถขยับขยายไปทางอื่นที่ดีกว่าได้ ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้ใช้จินตนาการสะท้อนปัญหาเหล่านี้ออกมาให้รู้แต่ปัญหานี้ก็ยังมีอยู่
     เนื้อหาตอนต่อมากล่าวถึง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแปลบทกวีจีน "ประเพณีดั้งเดิม" บทกวีของหลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราชวงศ์ถัง บรรยายความในใจเกี่ยวกับชาวนาที่มีชีวิตความเป็นอยู่ลาบาก
     จากบทกวีทั้งของไทยและจีนนี้ทาให้เห็นว่าชีวิตของชาวนาไทย และชีวิตของชาวนาจีนต่างมีความทุกข์ยากเหมือนกัน ต่างกันตรงเทคนิคในการเขียนบทกวี หลี่เชินใช้วิธีบรรยายภาพที่เห็นให้ฟัง แต่จิตร ภูมิศักดิ์ ใช้วิธีเสมือนชาวนามาบรรยายเรื่องของตนเองด้วยตนเอง
     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงความคิดเห็นว่า แม้ว่าสภาพบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงไป และเป็นเวลามานานแล้ว แต่ปัญหาความทุกข์ยากของชาวนาก็คงยังสร้างความสะเทือนใจแก้กวียุคคอมพิวเตอร์ต่อไป

คุณค่าของเรื่อง
          พระราชนิพนธ์  เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา  อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ  ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูก "ข้าว" อันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของ
คนไทย

ความรู้เพิ่มเติม
       บทความ หมายถึง รูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร ข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน โดยเนื้อหานำเสนอจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นเองจากจินตนาการ  บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป จะมีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหาเหตุการณ์ หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุนหรือคัดค้านหรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น

วิเคราะห์วิจารณ์
       การแต่งทุกข์ของชาวนาในบทกวีนับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน เนื้อเรื่องวิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดย ทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิง วรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีนว่า เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือหลี่เชินบรรยายภาพที่เห็น เหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

สรุป
       พระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา อันเปี่ยมล้น-ของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูกข้าวอันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น